การแต่งกายด้วยเครื่องแบบลูกเสือสำรอง หรือ เครื่องแบบลูกเสือสามัญ ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแต่งกายตามวิชาเรียนลูกเสือหรือเนตรนารีเท่านั้น แต่ยังมีความหมายและความสำคัญต่อการเป็นลูกเสืออีกด้วย สำหรับเครื่องแบบลูกเสือมีความสำคัญต่อลูกเสือและมีการแต่งกายอย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาฝาก
ลูกเสือ คือใคร
ลูกเสือ คือ ฑูตแห่งความดี มีจิตช่วยเหลือสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัวและสังคม ยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) ทั้งนี้ลูกเสือมี 4 ประเภท ได้แก่
- ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8 – 11 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)
- ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 11 – 16 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be prepared)
- ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 14 – 18 ปี คติพจน์: มองไกล (Look wide)
- ลูกเสือวิามัญ (Rover) อายุ 16 – 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service)
ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิง เรียกว่า เนตรนารี
ทั้งนี้เครื่องแบบลูกเสือ มีขึ้นเพื่อบอกถึงความเป็นหมู่คณะ และสร้างความภาคภูมิใจ เพื่อเกิดเป็นแรงผลักดันให้ลูกเสือหมั่นทำความดี แลกกับเครื่องหมายและตราต่าง ๆ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้เป็นสิ่งเตือนใจเพื่อไมให้เหล่าลูกเสือลืมหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัวแลัวสังคมด้วย
องค์ประกอบของเครื่องแบบลูกเสือสามัญ
องค์ประกอบของเครื่องแบบลูกเสือ และเครื่องแบบลูกเสือสามัญนั้น จะต้องมีของ 7 ชิ้นสำคัญเหมือกันทั่วโลก ได้แก่
- หมวก
- เสื้อ
- กางเกงหรือกระโปรง
- เข็มขัด
- ผ้าผูกคอ
- ถุงเท้า
- รองเท้า
นอกจากนี้ เครื่องหมาย และตราสัญลักษณ์พิเศษ ติดไว้เพื่อแสดงยศหรือความสามารถพิเศษของลูกเสือแต่ละคนนั่นเอง
เครื่องแบบลูกเสือสำรอง แต่งกายอย่างไร
หมวก
หมวกทรงกลมมีกะบังหน้าหมวก ทำด้วยผ้าสีกรมท่า ตัวหมวกเย็บด้วยผ้า 6 ชิ้น แนวตะเข็บระหว่างชิ้นและขอบหมวกโดยรอบทาบด้วยด้าย
ไหมถักสีเหลือง เมื่อเข้าพิธีประจำกองแล้ว มีตราหน้าหมวกรูปหน้าเสือและอักษรใต้หน้าเสือว่า “ลูกเสือ” สีเหลืองบนผ้าสีกรมท่า ขลิบริมสีกรมท่ารูปไข่
ยาว 4 ซม. กว้าง 3.5 ซม.
เสื้อแขนสั้น
แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด ให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
ผ้าผูกคอ
ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 90 ซม. ด้านตั้ง 65 ซม. สีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนดและมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
กางเกงขาสั้น
แบบและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด
เข็มขัดหนังสีน้ำตาล
กว้างไม่เกิน 3 ซม. หัวชนิดหัวขัดทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
ถุงเท้า รองเท้า ชนิดและสีตามที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือแต่ละโรงเรียนกำหนด
เครื่องแบบลูกเสือสามัญ แต่งกายอย่างไร
หมวก
หมวกปีกกว้างสีกากี พับปีกข้างขวาขึ้น ประดับด้วยดอกจันชั้นเดียว ทําด้วยผ้า (สีเหลือง)
กลางดอกจัน มีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติทําด้วยโลหะสีทอง มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ําตาลแก่ กว้าง 2 เซนติเมตร พันรอบหมวก มีหัวเข็มขัดสีน้ําตาลแก่ด้านซ้าย
ปีกหมวกสองข้างเจาะรู สําหรับร้อยสายรัดด้านหลังศีรษะ สายรัดทําด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวก ผูกเป็นปมไว้ด้านหลัง
เสื้อ
แบบคอพับสีกากี แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทําเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะ ข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนกลางแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ทุ่ม มีอินทรธนูสีเดียวกับเนื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมน มีคมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอ ด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบน ทําด้วยวัตถุสีน้ําตาลแก่ การแต่งเครื่องแบบให้สอดชายเสื้อไว้ในกางเกง
ผ้าผูกคอ
ใช้ผ้าสีเหลือง รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านทั้ง 75 เซนติเมตร ติดเครื่องหมายจังหวัด และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์สวมผ้าผูกคอ
กางเกง
ทําด้วยผ้าสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขา ตั้งแต่ 8 – 12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง 5 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุม หรือซิปขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อย เข็มขัดยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
เข็มขัด
สายทําด้วยหนังสีน้ําตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทําด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
ถุงเท้า
ชนิดยาวกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ใต้พับขอบมีรอยรัดถุง
รองเท้า
แบบหนังหรือผ้าใบสีน้ําตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
เครื่องแบบลูกเสือไม่ว่าจะเป็นลูกเสือสำรองหรือ เครื่องแบบลูกเสือสามัญ ถือเป็นเครื่องหมายของการมีหัวใจเพื่อสังคม ทำความดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะฉะนั้นการแต่งกายด้วยเครื่องแบบลูกเสือสามัญอย่างครบถ้วน ถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อตัวเองที่ทุกลูกเสือทุกคนควรพึงปฏิบัติ