ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เตรียมเงินเท่าไหร่?

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566

ปกติแล้วการโอนที่ดิน มักจะเป็นการโอนที่ดินของพ่อแม่ให้ลูก โอนที่ดินให้ญาติ หรือการโอนที่ดินเพื่อการซื้อขาย ทั้งนี้ในการโอนที่ดิน จะต้องมีการเสียภาษีโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ที่จำเป็นต้องรู้ โดยค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้แต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบมาฝาก

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

การโอนที่ดิน เป็นการเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์จากคนหนึ่งไปยังเจ้าของคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการโอนให้โดยเสน่หาหรือเป็นการโอนเพื่อซื้อขาย แต่จะโอนให้ใครก็ตามสิ่งที่ควรรู้ คือค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโอนที่ดิน เพื่อให้คุณสามารถเตรียมเงินเพื่อดำเนินการให้เรียบร้อย ดังนี้

  1. ค่าคำขอโอนที่ดินจำนวน 5 บาท
  2. ค่าอากรแสตมป์ คิดจากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขาย เลือกอันใดอันหนึ่งที่เยอะกว่า โดยจะคิด 0.5% ของราคาประเมิน
  3. ค่าพยาน จำนวน 20 บาท
  4. ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง ไม่เกิน 200,000 บาท กรณีที่กู้เงินธนาคารมาซื้อ
  5. ค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ดินหรือค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% จากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขายที่มีจำนวนสูงที่สุด
  6. ค่าภาษีโอนที่ดินธุรกิจสำหรับผู้ขายที่ดิน 3.3% จากราคาประเมินของที่ดินหรือราคาขายที่มีจำนวนสูงที่สุด
  7. ค่าภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา คิด 1% – 2.5% , นิติบุคคล คิด 1% ของราคาขายจริง

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ประเภทต่างๆ

ในการโอนที่ดินมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท ทั้งการโอนให้ลูก ญาติ และการซื้อขายให้คนอื่น โดยแยกประเภทได้ดังนี้

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูก

  1. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 0.5% 
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% 
  3. ค่าภาษีเงินได้ : ราคาซื้อขายไม่เกิน 20 ล้านบาทไม่ต้องจ่าย แต่ราคาขายเกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 5%

ค่าโอนที่ดินมรดก

  1. บุพการี คู่สมรส และผู้สืบสันดาน คิด 0.5% 
  2. ญาติตามสายเลือด บุตรบุญธรรม และคนอื่น คิด 2% 
  3. ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีเงินได้ และ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : ได้รับการยกเว้น 

ค่าโอนที่ดินให้คู่สมรส

  1. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 0.5%
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
  3. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%

ค่าโอนที่ดินให้ญาติ

  1. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 2%
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
  3. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได ลดหย่อนได้ 50%

ค่าโอนที่ดินแบบซื้อขาย

  1. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน : 2%
  2. ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% หรือ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
  3. ค่าภาษีเงินได้ : เสียภาษีตามขั้นบันได (ลดหย่อนตามปีที่ถือครอง)

การคำนวณค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน

ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเท่ากัน

  1. ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
  2. ค่าอากร 5 บาท
  3. ค่าพยาน 20 บาท

รวมเป็นเงินในส่วนนี้ 30 บาท

ค่าใช้จ่ายโอนที่ดิน (ตามเงื่อนไข)

  1. ค่าธรรมเนียมโอน คิด 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน

ตัวอย่าง : 1,000,000 x 2% = 20,000 บาท

  1. ค่าภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (1% – 2.5%) นิติบุคคล (1%)

ตัวอย่าง : 1,000,000 x 1% = 10,000 บาท (กรณีที่คิดเป็น 1%)

  1. ค่าอากรแสตมป์ จะคิดที่ 0.5%

ตัวอย่าง : 1,000,000 x 0.5% = 5,000 บาท

  1. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ คิด 3.3%

ตัวอย่าง : 1,000,000 x 3.3% = 33,000

  1. ค่าจดจำนอง จะคิดค่าจดจำนองที่ 1%

ตัวอย่าง : 1,000,000 x 1% = 10,000 บาท 

รวมเป็นเงินในส่วนนี้ 78,000 บาท

เพราะฉะนั้น รวมค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ทั้งหมด 78,030 บาท

หมายเหตุ ในปี 2566 นี้ ครม. มีมติลดค่าธรรมเนียมค่าโอนบ้าน 2566 จาก 2% เป็น 1% และค่าจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 เพื่อลดภาระและกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายบ้านและสนับสนุนให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเองอีกด้วย 

เอกสารในการโอนที่ดิน มีอะไรบ้าง?

นอกจากการเตรียมค่าธรรมเนียมโอนที่ดินแล้ว ยังต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่เสียเวลา โดยเอกสารในการโอนที่ดิน มีดังนี้

บุคคลธรรมดา

  1. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนารับรองสำเนาถูกต้อง
  2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนารับรองสำเนาถูกต้อง
  3. หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) (บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน)

นิติบุคคล

  1. หนังสือรับรองนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 1 เดือน 
  2. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น มีอายุไม่เกิน 1 เดือน 
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  6. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์แหล่งเงินที่ใช้ซื้อ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องรู้ เพื่อให้สามารถเตรียมเอกสาร เตรียมค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน และเดินทางไปดำเนินการที่กรมที่ดินได้อย่างสะดวก เพื่อให้คุณสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้อย่างสมบูรณ์