สรุปความรู้เกี่ยวกับ ไอโซโทป isotope คืออะไร?

ไอโซโทป

สสารรอบตัวเราถูกสร้างขึ้นจากอะตอม ทั้งนี้ในการศึกษาเรื่องอะตอม ผู้เรียนจำเป็นจะต้องเข้าใจความหมายของ ไอโซโทป (Isotope) คืออะไร และความรู้เรื่องไอโซโทปนี้นำไปใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร บทความนี้มีความรู้เรื่องไอโซโทปมาฝาก

อะตอม คืออะไร ?

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ ไอโซโทป isotope คืออะไรนั้น เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อะตอม (Atomic) กันก่อน สสารรอบตัวเราถูกสร้างขึ้นจากอะตอม โดยอะตอมประกอบไปด้วยอนุภาค 3 ชนิด คือ โปรตรอน นิวตรอนและอิเล็กตรอน โปรตรอนที่มีประจุเป็นบวกและนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะเกาะกันอยู่ที่ใจกลางอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส และอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ จะโคจรอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส

เลขอะตอม เลขมวล คืออะไร

เลขอะตอม (Atomic number, Z)

จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ ในอะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน ดังนั้นเลขเชิงอะตอม จึงบอกจำนวนของอิเล็กตรอนของธาตุได้

เลขมวล (Mass number, A)

ผลรวมของนิวตรอนและโปรตอนที่มีในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ นิวเคลียสในอะตอมอื่น ๆ ทั้งหมดจะมีทั้งโปรตอนและนิวตรอนอยู่

สัญลักษณ์นิวเคลียร์  (Nuclear symbol)

เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้

ไอโซโทป (isotope) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร?

ไอโซโทป หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอม (Z) เท่ากัน แต่เลขมวล (A) ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีเลขมวลสามชนิดโดยแตกต่างกันที่จำนวนนิวตรอน ได้แก่

ไฮโดรเจน (Hydrogen)

มี 1 โปรตอนและไม่มีนิวตรอน มีสัญลักษณ์ 11H

ดิวทีเรียม (Deuterium)

มี 1 โปรตอนและมี 1 นิวตรอน มีสัญลักษณ์ 21H

ทริเทียม (Tritium)

มี 1 โปรตอนและมี 2 นิวตรอน มีสัญลักษณ์ 31H

เมื่อเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับไอโซโทปทั้งสามนี้ ทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจถึงปฏิกิริยาฟิวชั่นใจกลางดาวฤกษ์ได้เป็นอย่างดีบางไอโซโทปมีความเสถียร บางไอโซโทปก็ไม่เสถียร ซึ่งจะสลายตัว แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่ละไอโซโทปจะถูกตั้งชื่อตามเลขมวล ซึ่งเป็นจำนวนรวมของนิวตรอนกับโปรตอน

  1. ออกซิเจน 16 (O-16) มีโปรตรอน 8 ตัวกับนิวตรอนอีก 8 ตัว ซึ่งมีความเสถียร
  2. ออกซิเจน 19 (O-19) มีโปรตรอน 8 ตัวกับนิวตรอนอีก 11 ตัว จะไม่เสถียร โดยมันสลายตัวจนลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งอย่างรวดเร็วด้วยเวลาเพียง 26.88 วินาที นั่นหมายความว่า O-19 มีค่าครึ่งชีวิต (Half-life)เป็น 26.88 วินาที

ธาตุบางชนิดก็ไม่มีไอโซโทปที่เสถียร คือ โลหะหนักยูเรเนียม (U) ที่ในธรรมชาติมี 3 ไอโซโทป และทั้งหมดเป็นกัมมันตรังสีที่จะสลายตัวอย่างคงที่จนกลายเป็นธาตุอื่นอย่างช้า ๆ

  1. ยูเรเนียม-238 (U-238) เป็นไอโซโทปที่พบมากที่สุดของยูเรเนียม มีค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.5 พันล้านปี มันจะค่อยๆกลายเป็น ตะกั่ว-206 (Pb-206) 
  2. ยูเรเนียม-235 (U-235) มีค่าครึ่งชีวิต 704 ล้านปี เปลี่ยนเป็นตะกั่ว-207 (Pb-207) ที่เป็นไอโซโทปที่เสถียรกว่า

ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์สำหรับนักธรณีวิทยา เพราะการวัดอัตราส่วนระหว่างยูเรเนียมกับตะกั่ว สามารถระบุอายุของหินได้ นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังใช้สารกัมมันตรังสีบางชนิดเพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดศึกษาการเติบโตของกระดูก หรือรังษีวิทยา เป็นต้น

ไอโซโทน (Isotone) และไอโซบาร์ (Isobar) คืออะไร

ไอโซโทน (Isotone)

อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน แต่จำนวนโปรตอน เลขอะตอมและเลขมวลไม่เท่ากัน เช่น  3919K  4020Ca มีนิวตรอนเท่ากัน คือ  20

ไอโซบาร์ (Isobar)

อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากันแต่เลขอะตอมต่างกัน เช่น 146C 147N

การประยุกต์ใช้ไอโซโทปในทางวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

นักวิทยาศาสตร์ได้นำการวิเคราะห์ไอโซโทป ไปประยุกต์ใช้ในงานทางด้านวิทยาศาสตร์หลายด้าน อาทิเช่น

  1. โบราณคดี (Archaeology) ศึกษาการกินอาหารของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์
  2. แหล่งที่มาขอโบราณวัตถุ (Sourcing archaeological materials) การวิเคราะห์คุณสมบัติเพื่อะบุแหล่งที่มาของโบราณวัตถุ เช่น การวิเคราะห์ไอโซโทปของตะกั่ว (Lead Isotope Analysis) ในโบราณวัตถุยุคโลหะ ของเมดิเตอเรเนียน
  3. นิเวศวิทยา (Ecology) เช่น การประเมินความกว้างของปากแม่น้ำจากการวิเคราะห์สัดส่วนออกซิเจนในเปลือกหอย
  4. นิติเวชวิทยา (Forensics) เช่น การวิเคาระห์เส้นผม การติดตามเส้นทางยาเสพติด
  5. ธรณีวิทยา (Geology) การหาอายุวัตถุ
  6. อุทกวิทยา (Hydrology) การหาอายุและแหล่งที่มาของน้ำ และทิศทางการเคลื่อนตัวในวัฏจักรของน้ำ
  7. ภูมิกาศบรรพกาลวิทยา (Paleoclimatology) การศึกษาวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงแกนหมุนของโลก

การเรียนรู้เกี่ยวกับไอโซโทปของธาตุต่างๆนั้น มีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด เพราะสามารถนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ เช่น การระบุอายุหิน การเข้าใจปฏิกิริยาฟิวชั่นใจกลางดาวฤกษ์ รวมไปถึงใช้ในวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น การใช้รังสีในการตรวจสอบการทำงานของอวัยวะในร่างกาย หรือการฉายรังษีรักษามะเร็ง เป็นต้น