คนรักบ้านต้องรู้ ถังดักไขมัน ของที่ต้องมีทุกบ้านจริงหรือไม่?

ถังดักไขมัน

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยรู้จักหรือเคยเห็น ถังดักไขมัน แต่ใช่ว่าทุกบ้านจะเห็นความสำคัญและติดตั้งถังดักไขมันในครัวเรือน วันนี้เราจะชวนมาทำความรู้จักเกี่ยวกับถังดักไขมันกันให้มากขึ้น รวมไปถึงข้อดีข้อเสีย การใช้งานและการดูแลรักษาถังดักไขมัน และทำไมถังดักไขมันจึงจำเป็นสำหรับบ้านคุณ

ถังดักไขมัน หรือ บ่อดักไขมัน คืออะไร?

ถังดักไขมัน หรือ บ่อดักไขมัน คือ อุปกรณ์ในการดักจับไขมันที่มาจากท่อน้ำทิ้งภายในบ้านทั้งหมด ถังดักจับไขมันจะแยกส่วนไขมันออกจากน้ำทิ้ง ก่อนที่น้ำทิ้งนั้นจะทำการปล่อยลงสู่ท่อระบายต่อไป ถังดักไขมัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถังดักไขมันแบบตั้งพื้น และ ถังดักไขมันแบบฝังดิน ทั้งนี้ ถังดักไขมัน เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะมีในทุกครัวเรือน เพราะนอกจากจะช่วยดักจับไขมันจากน้ำทิ้งไม่ว่าน้ำที่มาจากการอาบน้ำ หรือจากอ่างล้างจาน ยังช่วยลดการสะสมของไขมันอุดตันในท่อน้ำทิ้ง ถือเป็นแหล่งของการสะสมเชื้อโรคต่าง ๆ และช่วยป้องกันกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่จะย้อนกลับมาตามจุดต่าง ๆ ของท่อระบายภายในบ้านอีกด้วย 

ประเภทของถังดักจับไขมัน

ถังดักจับไขมัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถังดักไขมันแบบตั้งพื้น และ ถังดักไขมันแบบฝังดิน 

แบบตั้งพื้น (บนดิน)

เหมาะสำหรับ การใช้งานที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด เช่น ห้องพัก คอนโด หรือทาวน์โฮม เพราะสามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดและติดตั้งได้ง่าย

แบบฝังดิน

เหมาะสำหรับ พื้นที่กว้างและเพียงพอในการฝังถังดักไขมันไว้ใต้ดินบริเวณนอกตัวบ้าน เช่น บ้านเดี่ยว 1 ชั้น หรือ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น

โดยในบทความนี้เราจะขอพูดถึงถังดักไขมันแบบตั้งพื้น หรือเรียกว่าถังดักไขมันแบบบนดินกันก่อนค่ะ

ถังดักไขมัน แบบตั้งพื้น มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?

ในบทความนี้เราจะขอพูดถึงถังดักไขมันแบบตั้งพื้น เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีเนื้อที่จำกัด เช่น ห้องพัก คอนโด ทาวน์โฮม โดยส่วนใหญ่ถังดักไขมันอบบตั้งพื้น มักจะนำไปตั้งใต้ซิงค์ล้างจาน เพื่อดักจับไขมันที่มีจากน้ำล้างจาน โดยถังดักไขมันแบบตั้งพื้น จะมีลักษณะเป็นกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยม มีขนาดความจุแตกต่างกัน ตั้งแต่ 15 ลิตรขึ้นไป โดยส่วนประกอบของถังดักไขมัน มีดังนี้

ตะแกรงดักเศษอาหาร

ตะแกรงดักเศษอาหาร ถือเป็นด่านแรกในการดักจับเศษอาหารจากท่อน้ำทิ้ง มีลักษณะเป็นตะแกรงที่มีรูขนาดเล็กทั่วแผ่น เพื่อแยกเศษอาหารหรือสิ่งสกปรกต่างๆไว้และระบายน้ำลงสู่ถังดักจับไขมันต่อไป

ช่องแยกไขมัน

เมื่อน้ำจากท่อน้ำทิ้งส่วนต่างๆภายในบ้านรวมกันที่ถังดักไขมันแล้ว น้ำกับไขมันจะทำการแยกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน น้ำจะแยกตัวอยู่ด้านล่าง ส่วนไขมันจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำ

ท่อระบายไขมัน

ท่อระบายไขมัน จะระบายไขมันที่ลอยตัวแยกออกมาจากน้ำ โดยจะถูกติดตั้งไว้ให้มีตำแหน่งสูงกว่าระดับท่อน้ำทิ้ง เพื่อให้ไขมันลอยตัวออกมาตามท่อระบายไขมันได้

ท่อระบายน้ำทิ้ง

ท่อระบายน้ำทิ้ง จะใช้ระบายน้ำที่ผ่านการแยกไขมันออกจากน้ำ แล้วลงสู่ท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะนอกตัวบ้านต่อไป

การติดตั้งถังดักไขมัน แบบตั้งพื้น

ที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด เช่น คอนโด ทาวน์โฮม หรือที่พักอาศัยที่มีขนาดเล็ก จะนิยมติดตั้งถังดักไขมันแบบตั้งพื้น เพราะไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก ติดตั้งง่าย แต่สามารถดักจับไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้วิธีติดตั้งถังดักไขมันแบบตั้งพื้น ดังนี้

  1. เลือกขนาดตามการใช้งาน หากมีสมาชิกในบ้าน 1-5 คน ควรเลือกใช้ขนาด 15 ลิตร หรือสมาชิกภายในบ้าน 6-10 คน ควรเลือกใช้ขนาด 30 ลิตร เป็นต้น
  2. เลือกตำแหน่งในการติดตั้ง มักจะติดตั้งถังดักจับไขมันไว้ใต้อ่างล้างจาน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และช่วยประหยัดพื้นที่
  3. ต่อท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างจานกับถัง
  4. นำท่อระบายน้ำทิ้งจากตัวถังเข้ากับท่อระบายน้ำทิ้งของที่พักอาศัยต่อไป

DOS ถังดักไขมันบนดิน DOS รุ่น D-SURE GT 15 ขนาด 15 ลิตร

shopee: https://shope.ee/jtedTdEw

D-FIGHT ถังดักไขมัน (ตั้งพื้น) D-FIGHT รุ่น 249-AGT ความจุ 20 ลิตร

Shopee: https://shope.ee/10cQqVkwm2

GIANT KINGKONG ถังดักไขมัน (ตั้งพื้น) GIANT KINGKONG รุ่น 20L ความจุ 20 ลิตร

Shopee: https://shope.ee/AKA5xh6Cxh

การดูแลบำรุงรักษาถังดักไขมัน

นอกจากจะใช้งานถังดักไขมันแล้ว เราควรจะทำการดูแลรักษา และทำความสะอาดถังดักไขมัน เพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรกอันเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคตามมาได้ ทั้งนี้การดูแลรักษาถังดักไขมันแบบง่าย มีดังนี้

1.นำตะกร้าดักเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหาร เกิดการบูดเน่า 

2.ระบายไขมันที่ลอยอยู่ออกทางท่อระบายไขมัน ทุก 7-10 วัน หรือตักไขมันออก 

3.ล้างถังดักไขมันทุก 4-5 เดือน โดยการถอดวาล์วที่ก้นถังออก

ถังดักไขมัน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่หลายบ้านอาจมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่าถังดักไขมันนี้ มีส่วนสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนน้ำทิ้งภายในบ้านที่เป็นน้ำเสียเป็นน้ำที่สามารถระบายลงแหล่งน้ำสาธารณะ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำแต่อย่างใด โดยในบทความต่อไปเราจะพูดถึงบ่อดักไขมันแบบฝังดินว่าเป็นอย่างไรกันต่อค่ะ