สรุป สถิติคณิตศาสตร์ และระเบียบวิธีทางสถิติ คืออะไร

สถิติคณิตศาสตร์

สถิติคณิตศาสตร์ ถือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเราทุกคนโดยใช้ตัวเลขแทนข้อเท็จจริงที่เราศึกษาเพื่อนำมาคำนวณวิเคราะห์และนำเสนอออกมาในรูปแบบต่างๆทั้งแบบตาราง กราฟ แผนภูมิ เป็นต้น ทั้งนี้การวัดค่าทางสถิติมีอะไรบ้างบทความนี้มีคำอธิบายมาฝาก

สถิติ (Statistic) คืออะไร

สถิติ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Statistics ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า State ความหมายเดิมหมายถึง ข้อมูล (data) หรือข่าวสาร (information) ที่เป็นประโยชน์แก่รัฐหรือประเทศในด้านต่างๆ ต่อมาสถิติ  มีความหมายรวมไปถึงการค้นคว้าและพัฒนาในด้านเนื้อหา จึงทำให้ความหมายของสถิตินั้น จึงหมายถึง

ตัวเลขหรือข้อความจริงต่างๆ ที่จดบันทึกไว้เป็นหลักฐานอาจเป็นตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา และถูกสรุปและตีความโดยยึดขัระเบียบวิธีทางสถิติ

ระเบียบวิธีทางสถิติมีกี่ขั้นตอน

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)

เป็นการรวบรวมข่าวสารข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ต้องการจากประชากรที่มีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามความต้องการ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะหากเก็บข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ จะทำให้การวิเคราะห์และตีความมีความแม่นยำและน่าเชื่อถือด้วย

การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data)

เป็นการนำเสนอข้อมูลสถิติที่ได้รวบรวมไว้นำออกเผยแพร่ให้คนทั่ว ๆไปเข้าใจและเป็นการเตรียมพร้อมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)

เป็นการนำเอาข้อมูลที่รวบรวมได้มาประมวลผลตามวัตถุประสงค์สมมติฐาน และคำถามการวิจัยที่ตั้งไว้

การตีความหมาย หรือหาข้อสรุปของข้อมูล (Interpretation of data)

เป็นการนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาตีความสรุป เขียนเป็นรายงานผล

วิชาสถิติมีกี่ประเภท

สถิติเชิงอนุมาน (Inductive Statistics) 

สถิติที่ใช้จัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มาเพียงบางส่วนของข้อมูลทั้งหมด

สถิติพรรณนา หรือ สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)

ค่าเฉลี่ยคืออะไร

ค่ากลางของการแจกแจงของค่าของข้อมูล เป็นค่าที่ใช้มากที่สุดและมีประโยชน์มากของการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางเหมาะสำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่องที่มีมาตราวัดอัตรภาคชั้น (interval scale) และมาตราอัตราส่วน (ratio scale)

ค่ามัธยฐานคืออะไร

ค่าของข้อมูลที่ตำแหน่งกลางของการแจกแจงที่มีจำนวนความถี่ของข้อมูลที่มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าจุดนี้เป็นจำนวนความถี่เท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนข้อมูลทั้งหมดเป็นจุดที่แบ่งการแจกแจงออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านซ้าย และด้านขวาเท่าๆ กัน ค่ามัธยฐานเหมาะมากกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณที่มีการแจกแจงแบบเบ้

ค่าฐานนิยมคืออะไร

ค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในการแจกแจงหนึ่ง เหมาะสำหรับข้อมูลที่แบ่งเป็นชั้น (categorical data) ซึ่งตัวแปรเป็นแบบแบ่งประเภท มีมาตราการวัดนามบัญญัติ (norminal scale) เป็นค่าที่หยาบที่สุดของการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง 

โดยส่วนใหญ่จะเป็นการคำนวณหาค่าการกระจายของข้อมูล การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง สถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของข้อมูลอาจจะเกี่ยวข้องกับวิธีการทางสถิติต่อไปนี้

การนำเสนอข้อมูลมีอะไรบ้าง

การจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทตามลักษณะของการวิจัย เพื่อความชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของข้อมูล 

การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution table) มีกี่ลักษณะ

  1. แจกแจงข้อมูลเป็นตัว ๆ ไป ใช้กับข้อมูลดิบที่มีจำนวนไม่มากนัก
  2. แจกแจงข้อมูลเป็นช่วงคะแนน (อันตรภาคชั้น)

หลักการสร้างตารางแจกแจงความถี่

  1. พิจารณาจำนวนข้อมูลดิบทั้งหมดว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด
  2. หาค่าสูงสุดหรือต่ำสุดของข้อมูลดิบที่มีอยู่
  3. หาค่าพิสัยของข้อมูลนั้นจากสูตร พิสัย  =   ค่าสูงสุด  –  ค่าต่ำสุด
  4. พิจารณาว่าจะแบ่งเป็นกี่ชั้น (นิยม 5 – 15  ชั้น)
  5. หาความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้น จากสูตร ความกว้างของอันตรภาคชั้น  =       พิสัย/จำนวนชั้น
  6. ควรเลือกค่าที่น้อยที่สุด หรือค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นให้เป็นค่าที่สังเกตได้ง่ายๆ

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. การวัดค่าเฉลี่ย (Average) คือ ค่าที่ได้จากการนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน จากนั้นหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
  2. ตัวกลางเรขาคณิต (Geometric Mean)
  3. ตัวกลางฮาร์โมนิก (Harmonic Mean)
  4. ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่มีความถี่มากที่สุด
  5. มัธยฐาน (Median) คือ ค่าที่อยู่ตำแหน่งกลางของข้อมูล
  6. ควอไทล์ (Quartiles)
  7. เดไซล์ (Deciles)
  8. เปอร์เซ็นไทล์ (Percentiles)

การวัดการกระจายของข้อมูล ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. พิสัย (Range)
  2. ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
  3. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean Deviation)
  4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
  5. ค่าแปรปรวน (Variance)
  6. สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of Variation)

สถิติคณิตศาสตร์ มีประโยชน์ต่อการศึกษาในอีกหลายวิชาเพราะจะต้องมีการเก็บข้อมูล สรุปผล เพื่อช่วยในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยตัวอย่างของการใช้สถิติในชีวิตประจำวันเช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลการโฆษณาหรือการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นต้น