ความหมายและความสำคัญ งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ คืออะไร

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

งานประดิษฐ์ เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ยังสามารถสร้างคุณค่าให้กับวัสดุ เศษวัตถุ วัสดุเหลือใช้ หรือวัตถุในท้องถิ่น รวมไปถึงสร้างรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์ได้เช่นกัน

หัวข้อในบทความ

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ คืออะไร

วัสดุ

วัสดุหมายถึง วัตถุที่นำมาใช้ในงานต่างๆ ซึ่งมีระยะการใช้งานไม่มากนัก เช่น กระดาษ ดินสอ

เศษวัสดุ

เศษวัสดุหมายถึง เศษวัตถุที่เหลือจากการใช้ เช่น กระป๋องน้ำอัดลม แกนกระดาษชำระ หลอดกาแฟ

วัสดุเหลือใช้

วัสดุเหลือใช้หมายถึง วัสดุต่าง ๆ ที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ทั้งจากครัวเรือน การเกษตร หรือจากร้านค้า เช่น กล่องยาสีฟัน ปฏิทิน เปลือกข้าวโพด ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เป็นต้น

วัสดุในท้องถิ่น

วัสดุในท้องถิ่นหมายถึง วัตถุตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น เช่น ผักตบชวา ใบตาล กระบอกไม้ไผ่

หลักการทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ มีอะไรบ้าง

  1. ออกแบบงานประดิษฐ์ที่มีความเป็นไปได้ สามารถนำเอาวัสดุในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นผลงานที่ใช้ได้จริง
  2. เลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นที่หาง่าย เหลือใช้ และเหมาะกับงานประดิษฐ์ที่กำลังจะทำ
  3. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ 
  4. ลงมือทำโดยเลือกวัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานประดิษฐ์

วัสดุเหลือใช้ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

วัสดุเหลือใช้ หมายถึง วัสดุต่าง ๆ ที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่

วัสดุจากธรรมชาติ

เศษไม้เปลือกข้าวโพด เปลือกถัวลิสง เปลือกไข่ เป็นต้น

พลาสติก

ขวดน้ำเปล่า กระป๋องแป้ง เส้นพลาสติกรัดของ ถุงห่อขนม ขวดน้ำยาล้างจาน เป็นต้น

แก้ว

ขวดแก้ว เครื่องดื่มชูกาลัง ขวดน ้าปลา เป็ นต้น

โลหะ

เศษเหล็ก เส้นลวด น็อต ตะปู สังกะสี กระป๋องนม เป็นต้น

กระดาษ

กระดาษหนังสือพิมพ์วารสาร นิตยสาร กล่องกระดาษ ปฏิทินเป็นต้น

ผ้าหรือเศษด้าย

เศษผ้าไหม เศษผ้ายืด เศษผ้าฝ้าย เป็นต้น

ประเภทอื่น

โฟม กระดุม เศษกระเบื้อง ขี้เลื่อย เป็นต้น

นอกจากนี้วัสดุเหลือใช้ ยังสามารถแบ่งตามที่มาของวัสดุ ดังนี้

วัสดุเหลือใช้จากครัวเรือน

กล่องยาสีฟัน กล่องสบู่ กล่องนม กระดาษ หนังสือพิมพ์ เศษไม้ รูปภาพ ปฏิทิน เป็นต้น

วัสดุเหลือใช้จากการทำเกษตรกรรม

บางครอบครัวปลูกข้าวโพด นำเอาซังข้าวโพดมาประดิษฐ์ตุ๊กตา เป็นต้น

วัสดุเหลือใช้จากร้านค้า

  1. ร้านขายของชำ เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ เป็นต้น 
  2. ร้านอาหาร เช่น เศษผัก เศษข้าว เป็นต้น 
  3. ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า จะมีเศษผ้าชนิดต่างๆ เช่น ผ้าไหม ผ้ายืด เป็นต้น

ลักษณะงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

การใช้ซ้ำ (Reuse)

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ลักษณะของการใช้ซ้ำ คือ การนำสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ มาใช้ซ้ำจนกว่าจะหมดอายุ เพื่อลดการใช้พลังงานการผลิต เช่น การใช้ขวดแชมพูเดิม เติมด้วยแชมพูชนิดเติมหรือรีฟิล หรือการนำขวดแก้วหรือกวดพลาสติกสวย ๆ มาทำเป็นแจกันดอกไม้ เป็นต้น 

การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ลักษณะของการแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือเรียกว่า “รีไซเคิล” เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก กระจก ช่วยลดขยะ ลดมลพิษ ให้กับสภาพแวดล้อม และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง

การซ่อมแซม (Repair)

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ลักษณะของการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานต่อไปได้ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งาน เช่น การทาสีสิ่งของเพื่อให้ดูใหม่ชึ้น   

กระบวนการทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

  1. ขั้นตอนการออกแบบ วัตถุประสงค์ว่าต้องการนำไปใช้ประโยชน์อะไรและอย่างไร
  2. ขั้นตอนการเลือกวัสดุ ควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่มีในบ้านเป็นอันดับแรกอย่างเหมาะสม
  3. ขั้นตอนการประดิษฐ์ เริ่มตั้งแต่การเตรียมวัสดุ เครื่องมือ ศึกษษวิธีการทำแล้วนำมาสร้างสรรค์ผลงาน
  4. ขั้นตอนการประเมินผล ตรวจสอบว่าผลงานมีคุณภาพ สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์หรือไม่ 

นอกจากงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้จากวัสดุที่สามารถหาได้ภายในครัวเรือนแล้ว วัสดุในท้องถื่น หมายถึง วัตถุตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น ก็ยังสามารถนำมาสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นงานประดิฐ์ที่มีมาแต่โบราณ เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  

วัสดุในท้องถิ่น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

วัสดุธรรมชาติจากสัตว์

เปลือกหอย เปลือกไข่ ขนนก ขนไก่ เกล็ดปลา (ไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม)

วัสดุธรรมชาติจากพืช

ไม้ไผ่ มะพร้าว ใบลาน ปอ เป็นต้น

วัสดุธรรมชาติจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เส้นใยของพืชและสัตว์  ผ้า  กระดาษ กระป๋อง เป็นต้น

ส่วนชนิดของวัสดุในท้องถิ่น ที่นิยมนำมาทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช่ เช่น ไม้ไผ่ มะพร้าว กล้วย ผักตบชวา กระจูด กก หวาย ย่านลิเภา ลาน เปลือกหอย เป็นต้น 

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

  1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน 
  2. ผลงานงานประดิษฐ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง 
  3. ช่วยสร้างสมาธิในการทำงาน
  4. สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ
  5. สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในครัวเรือน
  6. ฝึกทักษะการวางแผนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  7. สร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ที่ไม่เหมือนใคร
  8. สร้างคุณค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ และวัสดุในท้องถิ่น ให้มีประโยชน์น่าใช้สอย และยังเป็นการนำวัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิลได้อีกด้วย

งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ รวมไปถึงจากวัสดุท้องถิ่น ช่วยให้ผู้ประดิษฐ์รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกความอดทนในการทำงาน รวมไปถึงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อได้ผลงานออกมาแล้วก็สามารถใช้งานได้จริง เกิดความภาคภูมิใจ ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวหรืออาจเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ต่อไปได้อีกด้วย